วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

คำยืมภาษาต่างประเทศ

คำยืมภาษาต่างประเทศ




บทที่ 1

 แนวคิด  ที่มา  และความสำคัญ
 โดยธรรมชาติของภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงโดยอาจได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่น หรือมีคำของภาษาอื่นมาใช้ปะปนกับภาษาของตนเอง   เพราะมนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร  สื่อความคิดของมนุษย์  และเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง  ซึ่งย่อมมีการถ่ายทอด  หยิบยืม แทรกซึม ภาษาอื่นมาใช้ได้  ทำให้มีคำในภาษานั้นๆ มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของภาษาเกิดขึ้นได้ทุกด้านของภาษา ได้แก่  การออกเสียง  การเขียน หรือด้านไวยากรณ์ การที่ภาษาไทยมีคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นในปัจจุบันส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ  ภาษานั้นเปลี่ยนแปลง ด้วยสาเหตุ ต่างๆ อาทิ  สภาพภูมิประเทศ  การติดต่อค้าขาย   การเผยแพร่ แลกเปลี่ยนด้านการศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรม  และดินฟ้าอากาศ  เป็นต้น



1. วัตถุประสงค์
2.1  เพื่อศึกษาคำยืมภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
2.2  เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเรื่องคำยืมภาษาต่างประเทศ





2. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1  ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำยืมภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
6.2  นักเรียน และบุคคลทั่วไปได้รับความรู้ความเข้าใจศึกษาเกี่ยวกับคำยืมภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
6.3  เป็นแนวทางในการศึกษาเรื่องคำยืมภาษาต่างประเทศ


3.ขอบเขตการศึกษา
                 ศึกษาโครงงานเกี่ยวกับคำยืมภาษาต่างประเทศ เพื่อพัฒนาสื่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 





บทที่2


การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย        การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยทำให้ภาษามีความเจริญงอกงามและมีคำใช้มากขึ้น ลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นการเสียหายประการใด ทั้งนี้เพราะมีการติดต่อระหว่างประเทศทั้งทางการทูต การค้าและวิทยาการต่างๆ มีการรับความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมและศาสนา จึงมีคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยหลายภาษา ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน คำชวา คำมลายู คำภาษาอังกฤษ คำฝรั่งเศส คำโปตุเกส คำภาษาอาหรับ เป็นต้นสาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย        การติดต่อสัมพันธ์กันทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย ด้วยสาเหตุหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้

๑.               สภาพภูมิศาสตร์ คือ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย จึงทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงมีการแลกเปลี่ยนภาษากัน เช่น คนไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ ก็จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาเขมรได้ คนไทยที่อยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา รับเอาภาษามาลายูเข้ามาใช้ เป็นต้น

๒.               ประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามาอยู่ในถิ่นอาศัยปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อน เช่น เขมร ละว้า มอญ หรือมีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนเชลยศึกและประชาชน พลเมืองชนชาติอื่น ๆ ให้มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้คนเหล่านี้ได้นำถ้อยคำภาษาเดิมของตนเองมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย

๓.               ศาสนา คนไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง ๆ ในทางศาสนาของศาสนานั้น ๆ มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ ในทางศาสนาก็จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วย

๔.               การค้าขาย จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากับชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา ตลอดถึงญี่ปุ่น ทำให้มีถ้อยคำในภาษาของชนชาตินั้น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ตลอดเวลาไม่มีวันสิ้นสุด

๕.               วรรณคดี วรรณคดีอินเดียที่ไทยนำเข้ามา เช่น เรื่องมหากาพย์รามายณะ และ มหาภารตะ แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องดาหลังของชวา ด้วยเหตุนี้วรรณคดีทำให้ภาษาสันสกฤตและภาษาชวาเข้ามาปะปนในภาษาไทย

๖.               ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี เมื่อชนชาติต่าง ๆ เข้ามาสัมพันธ์ติดต่อกับชนชาติไทย หรือเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทย ย่อมนำเอาวัฒนธรรมและประเพณีที่เคยยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคมเดิมของตนมาประพฤติปฏิบัติในสังคมไทย นาน ๆ เข้าถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น

๗.             การศึกษาและวิทยาการด้านต่าง ๆ จากการที่คนไทยเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ ทำให้ได้ใช้และพูดภาษาอื่น ๆ และรับเอาวิทยาการต่าง ๆ เมื่อสำเร็จการศึกษา จึงนำภาษาของประเทศนั้นมาใช้ปะปนกับภาษาของตน เช่น ภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล โดยการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนและภาษาที่สามารถสื่อสารกันในสากลโลก ดังนั้นการหลั่งไหลของภาษาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยก็จะเพิ่มมากขึ้น

๘.              ความสัมพันธ์ทางการทูต การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ในการอพยพ โยกย้ายหรือในการติดต่อทางการทูต ย่อมทำให้ภาษาของเจ้าของถิ่นเดิมหรือผู้อพยพโยกย้ายมาใหม่นำมาใช้ร่วมกัน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส

๙.              อพยพย้ายถิ่นฐาน การอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจต้องไปประกอบอาชีพยังประเทศต่าง ๆ ภัยสงคราม การเมืองการปกครอง

แผนผังสาระการเรียนรู้












คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาค่างประเทศ
-        บาลี           เช่น  กัญญา ขัตติยะ วิชา สันติ อิตถี
-        สันสกฤต            เช่น  บริษัท โฆษณา ประกาศ ภรรยา แพทย์
-        จีน             เช่น  ก๋วยเตี๋ยว ซาลาเปา เต้าฮวย บะหมี่ ลิ้นจี่
-        อังกฤษ              เช่น  กอล์ฟ โปรตีน คลินิก ฟอสฟอรัส นิวเคลี์ยร
-        เขมร          เช่น  กังวล ถนน บำเพ็ญ เผด็จ เสวย
-        ชวา-มลายู          เช่น  กริช กระดังงา ซ่าหริ่ม ปาหนัน อังกะลุง อุรังอุตัง
-        เปอร์เซีย            เช่น  กุหลาบ คาราวาน ตราชู บัดกรี สักหลาด
-        โปรตุเกส           เช่น  กะละแม กะละมัง สบู่ เลหลัง ปิ่นโต
-        ฝรั่งเศส              เช่น  กงสุล ครัวซองต์ คูปอง แชมเปญ บุฟเฟ่ต์
-        ญี่ปุ่น          เช่น  กิโมโน คาราเต้ ซูโม ยูโด สุกี้ยากี้
-        ทมิฬ          เช่น  กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ อาจาด
-        อาหรับ              เช่น  กะลาสี การบูร กั้นหยั่น กะไหล่ ฝิ่น
-        มอญ          เช่น  มะ เม้ย เปิงมาง พลาย ประเคน
-        พม่า           เช่น  หม่อง กะปิ ส่วย
       ภาษาที่มีใช้ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก คือ ภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน อังกฤษ โดยเฉพาะภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน ไทยนำมาใช้และมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำจนดูกลมกลืนกับภาษาไทยแทบจะจำแนกไม่ได้ว่าเป็นคำมาจากภาษาอื่น
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
       ภาษาต่างปะเทศที่เข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีอิทธิพลต่อภาษาไทย คือ ทำให้ลักษณะของภาษาไทยเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้
๑.     คำมีพยางค์มากขึ้น ภาษาไทยเป็นภาษาตระกูลคำโดด คำส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เดิน ยืน นั่ง นอน เมือง เดือน ดาว ช้าง แมว ม้า ป่า น้ำ เป็นต้น เมื่อยืมคำภาษาอื่นมาใช้ ทำให้คำมีมากพยางค์ขึ้น เช่น
       – คำสองพยางค์ เช่น บิดา มารดา เชษฐา กนิษฐา ยาตรา ธานี จันทร กุญชร วิฬาร์ เป็นต้น
       – คำสามพยางค์ เช่นโทรเลข โทรศัพท์ พาหนะ จักรยาน ปรารถนา บริบูรณ์ เป็นต้น
       – คำมากกว่าสามพยางค์ เช่น กัลปาวสาน สาธารณะ อุทกภัย วินาศกรรม ประกาศนียบัตร เป็นต้น
๒.               มีคำควบกล้ำใช้มากขึ้น โดยธรรมชาติของภาษาไทยจะไม่มีคำควบกล้ำ เมื่อรับภาษาอื่นเข้ามาใช้เป็นเหตุให้มีคำควบกล้ำมากขึ้น เช่น บาตร ศาสตร์ ปราชญ์ พรหม ปราศรัย โปรด ปลูก ทรวง เกรด เคลียร์ เอ็นทรานซ์ ดรัมเมเยอร์ เป็นต้น
๓.               มีคำไวพจน์ใช้มากขึ้น (คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน) ซึ่งสะดวกและสามารถเลือกใช้คำได้เหมาะสมตามความต้องการและวัตถุประสงค์ เช่น
นก บุหรง ปักษา ปักษิน สกุณา วิหค
ม้า พาชี อาชา สินธพ หัย อัศวะ
ดอกไม้ กรรณิกา บุปผชาติ บุหงา ผกา สุมาลี
ท้องฟ้า คคนานต์ ทิฆัมพร นภดล โพยม อัมพร
น้ำ คงคา ชลาลัย ธารา มหรรณพ สาคร
พระจันทร์ แข จันทร์ นิศากร บุหลัน รัชนีกร
๔.               มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา คำไทยแท้ส่วนใหญ่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เมื่อได้รับอิทธิพลภาษาต่างประเทศ คำใหม่จึงมีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราจำนวนมาก เช่น พิพาท โลหิต สังเขป มิจฉาชีพ นิเทศ ประมาณ ผจญ กัปตัน ปลาสเตอร์ คริสต์ เคเบิล ดีเซล โฟกัส เป็นต้น
๕.               ทำให้โครงสร้างของภาษาเปลี่ยนไป เช่น
              – ใช้คำ สำนวน หรือประโยคภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เช่น
       ตัวอย่างที่ ๑.    สำนวนภาษาต่างประเทศ         เขาพบตัวเองอยู่ในห้อง
                     สำนวนภาษาไทย                   เขาอยู่ในห้อง
       ตัวอย่างที่ ๒.    สำนวนภาษาต่างประเทศ         นวนิยายเรื่องนี้เขียนโดยทมยันตี
                     สำนวนภาษาไทย                   ทมยันตีเขียนนวนิยายเรื่องนี้
       ตัวอย่างที่ ๓.    สำนวนภาษาต่างประเทศ         มันเป็นเวลาบ่ายเมื่อข้าพเจ้ามาถึงอยุธยา
                     สำนวนภาษาไทย                   ข้าพเจ้ามาถึงอยุธยาเมื่อเวลาบ่าย
              – ใช้คำภาษาต่างประเทศปนกับภาษาไทย ทั้ง ๆ ที่บางคำมีคำภาษาไทยใช้ เช่น เธอไม่แคร์ ฉันไม่มายด์ เขาไม่เคลียร์
คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย
       ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ
ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้
๑.   มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ เป็นต้น
๒.  ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร เป็นต้น
๓.  นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ เป็นต้น
๔.    ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย เป็นต้น ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้



คำยืมที่มาจากภาษาบาลี
       ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห เป็นต้น ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน ฤ ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ  นิยมใช้พยัญชนะ ๒ ตัวซ้อนกัน เช่นกิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา และมีการแบ่งพยัญชนะเป็นวรรคตามฐานที่เกิดและมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ดังนี้
พยัญชนะวรรคของภาษาบาลี




หลักตัวสะกดตัวตามภาษาบาลี
๑.   คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม
๒.  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ ๑, ,
๓.    พยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๑, ๒ ในวรรคเดียวกันตาม เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา อิตถี หัตถ์ บุปผา เป็นต้น
๔.    พยัญชนะแถวที่ ๓ สะกด พยัญชนะแถวที่ ๓, ๔ ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ พุทธ อัคคี อัชฌาสัย อวิชชา เป็นต้น
๕.    พยัญชนะแถวที่ ๕ สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันดาป สันธาน สัมผัส สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร เป็นต้น
๖.     พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา เป็นต้น
ตัวอย่างคำภาษาบาลี
       กิตติ กิเลส กิริยา กีฬา เขต ขณะ คิมหันต์ จตุบท จิต จุฬา โจร เจดีย์ จุติ ฉิมพลี ญาติ ดิถี ดารา ดุริยะ เดชะ ทัพพี ทิฐิ นาฬิกา นิพพาน นิลุบล ปฏิทิน ปฏิบัติ ปฐพี ปกติ ปัญญา ปัจจัย บุคคล บัลลังก์ บุปผา โบกขรณี ปฐม ปัญหา พยัคฆ์ พรหม ภัตตา ภิกขุ ภริยา มัจจุราช มัจฉา มัชฌิม มหันต์ เมตตา มิจฉา มเหสี มุสา มัสสุ รัตนา โลหิต วัตถุ วิชา วิญญาณ วิตถาร วิริยะ วิสุทธิ์ วุฒิ สงกา สังข์ สงฆ์ สูญ สิริ สันติ สัญญาณ เสมหะ สัจจะ สติ โสมนัส อิทธิ อัคคี อัจฉรา อนิจจา อัชฌาสัย อายุ อาสาฬห โอวาท โอรส โอกาส อุบล
คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต

       ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย มีรูปคำสละสลวย ไพเราะ นิยมใช้เป็นคำราชาศัพท์ ภาษาในวรรณคดี ชื่อบุคคล และสถานที่ เป็นต้น
       ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต นิยมใช้ ฑ เช่น กรีฑา จุฑา ครุฑ ไพฑูรย์ วิฑาร เป็นต้น
-           นิยมใช้ ร หัน เช่น กรรณ ขรรค์ ครรภ์ ธรรม พรรษา บรรพต วรรค วรรณะ มหัศจรรย์ สรรพ สวรรค์ สุวรรณ อัศจรรย์ เป็นต้น
-           นิยมมีอักษรควบกล้ำ เช่น กษัตริย์ เกษตร ตรุษ บุตร ปราชญ์ ปรารถนา พฤกษ์ เนตร ไมตรี ศาสตรา อาทิตย์ เป็นต้น
-           ใช้ ศ ษ ประสมคำเป็นส่วนมาก เช่น กษัย เกษม เกษียณ ทักษิณ ทัศนีย์ บุษกร บุรุษ เพศ ภิกษุ มนุษย์ วิเศษ ศิลปะ ศิษย์ ศึกษา ศุกร์ ศูนย์ เศียร อักษร อัธยาศัย เป็นต้น ใช้ ส นำหน้าพยัญชนะวรรค ตะ (ต ถ ท ธ น) เช่น พัสดุ พิสดาร สตรี สถาน สถิต สถิติ สถาปนา สนธยา สัตย์ สันโดษ อัสดง เป็นต้น
-           ประสมด้วยสระ ไอ เอา ฤ ฤ ๅ ฦ ฦ ๅ เช่น ไศล ไศวะ ไวทย์ ไวษณพ ไวยากรณ์ ไวศฺย ไอราวัณ ไอยรา เกาศัย เอารส ฤดี ฤทัย ฤทธิ์ ฤๅษี กฤษณา พฤติกรรม พฤษภาคม ทฤษฎี นฤมล มฤตยู ฦๅชา ฦๅสาย เป็นต้น
-           มีหลักเกณฑ์ตัวสะกด ตัวตามไม่แน่นอน กัลป์ การบูร กีรติ โกรธ จักร จันทรา ดัสกร ทรัพย์ นิตยา ประพันธ์ ประพฤติ พยายาม ลักษณะ วิทยุ มนตรี มัตสยา มัธยม ศัพท์ ศาสนา ศาสตรา อาชญา อาตมา อาจารย์ อุทยาน เป็นต้น
ตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต
       กัลบก กรรณ กรรม กษัตริย์ กัลป์ การบูร กีรติ โกรธ กรีฑา เกษม กษัย เกษียณ เกษียร เกษตร ครรชิต ครรภ์ จักร จักรวาล จันทรา จุฑา ดัสกร ทรมาน ทรัพย์ ทฤษฎี ทิศ ทหาร กษิณ ทัศนีย์ ทิพย์ นักษัตร นมัสการ นาที นฤคหิต นิตยา นิทรา นฤมล เนตร บุษบา บรรพต บุษกร บุรุษ ประเทศ ประทีป ประพันธ์ ประพฤติ ประเวณี ประมาท ประโยค ประถม ภักษา ภิกษุ มฤตยู มนุษย์ มนัส มารุต มิตร มนตรี ไมตรี มหัศจรรย์ ยักษา ลักษณะ วรรค วรรณะ วัสดุ พรรษา พยายาม พฤศจิกายน วิทยุ พิสดาร วิเศษ เพศ ศัพท์ ศาสนา ศาสตรา ศึกษา ศิลปะ ศิษย์ ศุกร์ ศูนย์ ศรี เศียร สัตย์ สันโดษ สมปฤดี สตรี สวรรค์ สรรพ สุวรรณ สถาปนา สดุดี สกล สกุล อักษร อาตมา อัศจรรย์ อัธยาศัย อารยะ อวกาศ อาจารย์ อาทิตย์ อุทยาน
ข้อแตกต่างของภาษาบาลีและสันสกฤต
       ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาตระกูลเดียวกัน และมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอินเดียเหมือนกัน จึงมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่มีข้อแตกต่างที่เปรียบเทียบได้ดังนี้`



การนำเอาคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย
เลือกรับคำภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น
     เลือกรับแต่คำภาษาบาลี เช่น กังขา ขันติ จุติ เมตตา วินิจฉัย วิสัญญี เป็นต้น
     เลือกรับแต่คำภาษาสันสกฤต เช่น จักรพรรดิ ตรรกะ ทรัพย์ ปรารถนา รักษา เป็นต้น
      เลือกใช้รูปคำภาษาสันสกฤตแต่ใช้ความหมายของภาษาบาลี เช่น เปรต (ส.) แปลว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว, วิญญาณของบรรพบุรุษ เปต (บ.) แปลว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว, สัตว์ในอบายภูมิประเภทหนึ่งซึ่งรับ ผลกรรมตามที่เคยทำไว้ ไทยใช้ รูปคำตามภาษาสันสกฤต คือ เปรตในความหมายของภาษาบาลี คือ สัตว์ในอบายภูมิประเภทหนึ่งซึ่งรับผลกรรมตามที่เคยทำไว้ ปรเวณี (ส.) แปลว่า ผมเปีย, ผ้าซึ่งทอจากเปลือกไม้ย้อมสี ปเวณี (บ.) แปลว่า ผมเปีย, ผ้าซึ่งทอจากเปลือกไม้ย้อมสี, สิ่งที่สังคม ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง ไทยใช้ รูปคำตามภาษาสันสกฤต คือ ประเพณีในความหมายของภาษาบาลี คือ สิ่งที่สังคมปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง
      รับมาทั้งสองภาษาในความหมายเดียวกัน เช่น บาลี สันสกฤต ไทยใช้ ความหมาย กญฺญา กนฺยกา กัญญา, กันยา หญิงสาว ถาวร สฺถาวร ถาวร, สถาพร มั่นคง, แข็งแรง ธุช ธวช ธุช, ธวัช ธง
      รับมาทั้งสองภาษาแต่ใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น บาลี สันสกฤต ไทยใช้ ความหมาย ขตฺต   เกฺษตฺร นา, ไร่, บริเวณ, แดน เขต บริเวณ, แดน เกษตร นา, ไร่ สามญฺญ สามานฺย ชั่วช้า, ทั่วไป สามัญ ทั่วไป สามานย์ ชั่วช้า
คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
           ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาอังกฤษได้รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูดและการเขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันคนไทยศึกษาความรู้และวิทยาการต่าง ๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึงหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยมากขึ้นทุกขณะทั้งในวงการศึกษา ธุรกิจ การเมือง การบันเทิง เป็นต้น


การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย
การทับศัพท์ โดยการถ่ายเสียงและถอดตัวอักษร คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีจำนวนมาก คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า เพราะเข้าใจง่าย สื่อสารได้ชัดเจน เช่น
คำภาษาอังกฤษ คำทับศัพท์
              game เกม
              graph กราฟ
              cartoon การ์ตูน
              clinic คลินิก
              quota โควตา
              dinosaur ไดโนเสาร์
              technology เทคโนโลยี
การบัญญัติศัพท์ เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาแล้วสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างไปจากคำเดิม โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ภาษาไทยแทนคำภาษาอังกฤษ คือ ราชบัณฑิตยสถาน เช่น
คำภาษาอังกฤษ คำบัญญัติศัพท์
              airport สนามบิน
              globalization โลกาภิวัตน์
              science วิทยาศาสตร์
              telephone โทรศัพท์
              reform ปฏิรูป
การแปลศัพท์ วิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป ดังตัวอย่างเช่น
              blackboard กระดานดำ
              enjoy สนุก
              handbook หนังสือคู่มือ
              school โรงเรียน
              short story เรื่องสั้น
ตัวอย่างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีใช้ในภาษาไทย
           กราฟ การ์ตูน กิ๊บ กลูโคส กัปตัน แก๊ส กุ๊ก เกียร์ แก๊ง แกลลอน คริสต์มาส ไดนาโม ไดโนเสาร์ ครีม คลอรีน คอนกรีต คลินิก คอนเสิร์ต คอมพิวเตอร์ คุกกี้ เคเบิล เครดิต แคปซูล เคาน์เตอร์ แคลอรี โควตา ชอล์ก ช็อกโกเลต เช็ค เชิ้ต เชียร์ โชว์ ซีเมนต์ เซลล์ ไซเรน ดีเซลดอลลาร์ ดีเปรสชั่น เต็นท์ ทอนซิล เทอม แท็กซี่ แทรกเตอร์ นิโคติน นิวเคลียร์ นีออน นิวเคลียส โน้ต ไนลอน บล็อก เบนซิน แบคทีเรีย ปลั๊ก ปิกนิก เปอร์เซ็นต์ พลาสติก พีระมิด ฟลูออรีน ฟอร์มาลีน ฟังก์ชัน ฟาร์ม ฟิสิกส์ มอเตอร์ มัมมี่ มาเลเรีย โมเลกุล ไมล์ ไมโครโฟน ไมโครเวฟ ยิปซัม ยีราฟ ริบบิ้น เรดาร์ ลิกไนต์ ลิปสติก เลเซอร์ วัคซีน วิตามิน ไวโอลิน
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
           ช็อคโกแลตแสนวิเศษ แก๊สก๊าซเหตุอัคคีภัย
           ฟุตบอลล็อกทีมไหน บุกกิงได้ถ้าใครเชียร์
           อังกฤษคิดทับศัพท์ หลักเกณฑ์นับจนหัวเสีย
           มากมายอ่านจนเพลีย เพื่อนช่วยเคลียร์วิจารณ์
คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย
           ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก
           การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ
           ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ย เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตราและมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วย
หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน
-     นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
-     เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
-     เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
-     เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น
วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย
           ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้ โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว ตะหลิว บ๊ะหมี่ บะหมี่ ปุ้งกี ปุ้งกี๋



ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
           กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
           ก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวบะหมี่ พะโล้นี้ช่างน่าสน
           เกาเหลาจับฉ่ายปน ตะหลิวคนตักเฉาก๊วย
           อาหารจานเด็ดนี้ ล้วนมากมีสีสันสวย
           คนไทยใช้มากด้วย สื่อกันมาภาษาจีน
คำภาษาเขมรในภาษาไทย
           ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย
ลักษณะคำภาษาเขมรในภาษาไทย
-      มักจะสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ บำเพ็ญ กำธร ถกล ตรัส
-      มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ไกร ขลัง ปรุง
-      มักใช้ บัง บัน บำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์ เช่น บัง = บังคับ บังคม บังเหียน บังเกิด บังคล บังอาจ
บัน = บันได บันโดย บันเดิน บันดาล บันลือ บำ = บำเพ็ญ บำบัด บำเหน็จ บำบวง
-      นิยมใช้อักษรนำ เช่น สนุก สนาน เสด็จ ถนน เฉลียว เป็นต้น
-      คำเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น ขนง ขนอง เขนย เสวย บรรทม เสด็จ โปรด เป็นต้น มักแผลงคำได้ เช่น
           – ข แผลงเป็น กระ เช่น ขดาน เป็น กระดาน ขจอก เป็น กระจอก
           – ผ แผลงเป็น ประ ผสม ประสม ผจญ ประจญ
           – ประ แผลงเป็น บรร ประทม เป็น บรรทม ประจุ บรรจุ ประจง บรรจง
การยืมคำภาษาเขมรมาใช้ในภาษาไทย
-      ยืมมาใช้โดยตรง เช่น กระดาน กระท่อม กะทิ บัง โปรด ผกา เป็นต้น
-      ยืมเอาคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น กังวล บำบัด แผนก ผจัญ
-      ยืมทั้งคำเดิมและคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น เกิด-กำเนิด ขลัง-กำลัง เดิน-ดำเนิน ตรา-ตำรา บวช-ผนวช
-      ใช้เป็นคำสามัญทั่วไป เช่น ขนุน เจริญ ฉงน ถนอม สงบ เป็นต้น
-      ใช้เป็นคำในวรรณคดี เช่น ขจี เชวง เมิล สดำ สลา เป็นต้น
-      ใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น เขนาย ตรัส ทูล บรรทม เสวย เป็นต้น
-      นำมาใช้ทั้งเป็นภาษาพูดและภาษาเขียน
ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย
           กระชับ กระโดง กระเดียด กระบอง กระบือ กระท่อม กระโถน กระพัง ตระพัง ตะพัง กระเพาะ กระแส กังวล กำจัด กำเดา รัญจวน ลออ สกัด สนอง สนุก สดับ สบง สังกัด สไบสำราญ สรร สำโรง แสวง แสดง กำแพง กำลัง ขนาน ขจี โขมด จัด เฉพาะ ฉบับ เชลย โดยทรวง ถนน บายศรี ประกายพรึก ปรับ ประจาน โปรด เผด็จ ผจญ ผจัญ เผอิญ เผชิญ เพ็ญเพลิง เพนียด ระลอก
คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย
           ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาตระกูลคำติดต่อ ตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่อง ดาหลังและอิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
           ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย เป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู คำส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ เข้ามาปะปนในภาษาไทยเพราะมีเขตแดนติดต่อกัน จึงติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางด้านการค้าขาย ศาสนา วัฒนธรรม มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิตประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก
การยืมคำภาษาชวา-มลายูมาใช้ในภาษาไทย
-      ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ เช่น บุหรง บุหลัน ระตู ปาหนัน ตุนาหงัน เป็นต้น
-      ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น กัลปังหา กุญแจ กระดังงา ซ่าหริ่ม ประทัด เป็นต้น
-      นำมาใช้ในความหมายคงเดิม เช่น ทุเรียน น้อยหน่า บุหลัน เป็นต้น
ตัวอย่างคำภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย
           กะพง กระจูด กะลาสี กะลุมพี กำยาน กำปั่น กระยาหงัน (สวรรค์) กะละปังหา กระแชง จับปิ้ง จำปาดะ ตลับ ทุเรียน บูดู ปาเต๊ะ มังคุด สละ สลัก สลาตัน สลัด สุจหนี่ โสร่ง หนัง ยะลา เบตง น้อยหน่า กริช กิดาหยัน (มหาดเล็ก) กุหนุง (เขาสูง) กุญแจ การะบุหนิง (ดอกแก้ว) กระดังงา อิเหนา อังกะลุง อสัญแดหวา (เทวดา) ตุนาหงัน (คู่หมั้น) ยิหวา (ดวงใจ) บุหรง (นกยูง) บุหลัน (ดวงจันทร์) บุหงา (ดอกไม้) อุรังอุตัง สะตาหมัน (สวน) บุหงารำไป ปาหนัน (ดอกลำเจียก) รำมะนา การะบุหนิง (ดอกแก้ว) กิดาหยัน (มหาดเล็ก) ซ่าโบะ (ผ้าห่ม) ซ่าหริ่ม ดาหงัน (สงคราม) ปันหยี ปั้นเหน่ง ประทัด บุษบามินตรา (ดอกพุทธรักษา) มาลาตี (ดอกมะลิ) มินตรา (ต้นกระถิน) มิรันตี (ดาวเรือง) สะการะตาหรา (ดอกกรรณิการ์) ตันหยง (ดอกพิกุล) กาหลา (ชื่อดอกไม้) ประไหมสุหรี มะเดหวี ระตู (เจ้าเมือง)
คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย
๑. ภาษาทมิฬ เช่น กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ตะกั่ว ปะวะหล่ำ ยี่หร่า สาเก อาจาด กะละออม กะหรี่ (ชื่อแกงชนิดหนึ่ง)
๒.                        ภาษาเปอร์เซีย เช่น กากี กาหลิบ กุหลาบ เกด (องุ่นแห้ง) เข้มขาบ (ชื่อผ้า) คาราวาน ชุกชี (ฐานพระประธาน) ตาด (ผ้าไหมปักเงินหรือทองแล่ง) ตรา (เครื่องหมาย) ตราชู (เครื่องชั่ง) บัดกรี (เชื่อมโลหะ) ปสาน (ตลาด) ฝรั่ง (คำเรียกชาวยุโรป) ราชาวดี (พลอยสีฟ้า) สุหร่าย (คนโทน้ำคอแคบ) องุ่น สักหลาด ส่าน (ผ้าคลุมกายหรือหน้า) เยียรบับ (ผ้าทอยก ดอกเงินหรือทอง)
๓.                        ภาษาอาหรับ เช่น กะลาสี การบูร กั้นหยั่น กะไหล่ ฝิ่น โก้หร่าน
๔.                        ภาษาญี่ปุ่น เช่น เกอิชา กิโมโน คามิคาเซ่ คาราเต้ เคนโด้ ซามูไร ซูโม่ ซากุระ เทมปุระ ฟูจิ สุกี้ยากี้ ยูโด
๕.                        ภาษาโปรตุเกส เช่น สบู่ กัมปะโด ปิ่นโต กะละแม กะละมัง จับปิ้ง เลหลัง บาทหลวง ปัง ปิ่นโต เหรียญ
๖. ภาษาฝรั่งเศส เช่น กงสุล กรัม กาสิโน กาแฟ กาเฟอีน กิโยติน กิโลกรัม กิโลลิตร โก้เก๋ เชมเปญ โชเฟอร์ คูปอง เปตอง ปาร์เกต์ คาเฟ่ ครัวซองท์ บุฟเฟต์ มองสิเออร์
๗.                      ภาษาฮินดี เช่น อะไหล่ ปาทาน
๘.                        ภาษาพม่า เช่น หม่อง กะปิ ส่วย
๙.                       ภาษามอญ เช่น มะ เม้ย เปิงมาง พลาย ประเคน





บทที่ ๓
วิธีการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
           ๑.   ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน                                                                                                
           ๒.  ผู้ศึกษาร่วมกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของโครงงาน
           ๓.   ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆดังนี้หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆและจากอินเตอร์เน็ต
           ๔.   ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเพื่อมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาที่สำคัญที่จะนำมาจัดทำโครงงาน
           ๕.   นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน
           ๖.    จัดทำคู่มือเพื่อใช้สำหรับศึกษาและรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
            ๑.      ปากกา
            ๒.     ดินสอ
            ๓.     ยางลบ
            ๔.     ไม้บรรทัด
            ๕.     กระดาษ A4
            ๗.     คอมพิวเตอร์
        ๘. เครื่องปริ้นเตอร์
          


 



บทที่๔
ผลการศึกษา
ความหมายของการยืมภาษาต่างประเทศ
              คำยืม หมายถึง  คำที่ยืมมาจากภาษาของผู้ให้ และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาของผู้รับ การยืมนี้ไม่เหมือนความหมายทั่วไปเนื่องจากไม่มีการคืนกลับสู่ภาษาของผู้ให้  แต่เปรียบได้กับ "การยืมความคิด" มาใช้ คำยืมอาจไม่ได้เป็นคำเดียวเสมอไป อาจเป็นกลุ่มคำก็ได้อย่างเช่น déjà vu ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส จะใช้ควบคู่กันไปเสมือนคำเดียว  คำยืมอาจมีการเขียน การอ่าน และความหมาย                  ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ได้ คำในภาษาของผู้ให้โดยทั่วไปเข้าสู่ภาษาของผู้รับในลักษณะศัพท์เฉพาะทางเนื่องจากการเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติ จุดอ้างอิงโดยเฉพาะอาจเป็นวัฒนธรรมต่างชาตินั้นเองหรือขอบข่ายของกิจกรรมของวัฒนธรรมต่างชาติที่ต้องการครอบงำ วัฒนธรรมต่างชาติซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านทางการเผยแผ่ศาสนา ปรัชญา การค้าขาย ศิลปะ วิทยาการ และการอพยพจากคนต่างถิ่น รวมไปถึงความสัมพันธ์ทางการทูต
สาเหตุที่ทำให้เกิดการยืมภาษา
       ๑. ด้านภูมิศาสตร์ อาณาเขตใกล้กันทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนภาษา
       ๒. ด้านการค้า การติดต่อกันเป็นหนึ่งในปัจจัยการรับภาษา
       ๓. ด้านศาสนาและวัฒนธรรม การรับศาสนาและวัฒนธรรมจะแฝงคำศัพท์จากสิ่งเหล่านั้นมาด้วย
       ๔. ด้านการศึกษา การเรียนในต่างแดน ความรู้ในแขนงต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเป็นที่มาของศัพท์
       ๕. ด้านเทคโนโลยี การรับความเจริญหรือสิ่งประดิษฐ์มาใช้เป็นการรับเอาภาษาของชาตินั้น ๆ มาด้วย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีผลต่อภาษาไทย
       ๑. คำไทยมีหลายพยางค์ จากเดิมที่เป็นคำพยางค์เดียวก็เพิ่มจำนวนพยางค์เพิ่มขึ้นโดยผสมกับภาษาอื่น
       ๒. คำไทยเป็นคำควบกล้ำมากขึ้น ปัจจุบันมีคำควบกล้ำที่มีเสียงควบต่างจากเดิมเพิ่มมากขึ้น
       ๓. มีตัวสะกดหลายตัวที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ทำให้มีการเขียนและการออกเสียงที่หลากหลาย
       ๔. มีคำศัพท์ใช้ในภาษามากขึ้น ทำให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับโอกาส
วิธีการนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
       ๑. ใช้ตามคำเดิมที่ยืมมา เช่น เมตร (อังกฤษ) หมายถึง หน่วยวัดความยาว แข (เขมร) หมายถึง ดวงเดือน
       ๒. เปลี่ยนตัวสะกดให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวก เช่น เผอิลฺ (เขมร) เปลี่ยนเป็น เผอิญ
       ๓. เปลี่ยนรูปและเสียงให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้เหมาะกับการออกเสียงภาษาไทย เช่น ฮวงโล้ว (จีน) เป็น อั้งโล่
       ๔. ตัดคำให้มีเสียงสั้นลง เช่น อุโบสถ (บาลีสันสกฤต) เป็น โบสถ์
       ๕. แผลงสระและพยัญชนะให้ผิดไปจากเดิม เช่น กีรติ (บาลีสันสกฤต) ไทยใช้ เกียรติ
       ๖. เปลี่ยนความหมายไปจากเดิมให้เข้ากับความหมายของภาษาไทย เช่น โมโห (บาลีสันสกฤต) หมายถึง ความลุ่มหลง ความโง่เขลา ไทยใช้ โกรธ
       ๗. บัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ คือ การสร้างศัพท์ใหม่ที่มีความหมายตรงกับภาษาเดิม เพื่อไม่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ     ซึ่งการบัญญัติศัพท์มักใช้กับคำภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาอังกฤษ




บทที่ ๕
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
            จากการทำโครงงานวิชาภาษาไทย เรื่องคำราชาศัพท์ ได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากนักเรียน  ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  และจากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่า  ผู้ประเมินมี
ความพึงพอใจในผลงานและการนำเสนอ  ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่  อีกทั้งยังมีความพึงพอใจในเนื้อหาสาระ  ได้รับความสนุกสนานจากการทำกิจกรรม  มีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับคำราชาศัพท์มากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังสามารถ  นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม  นอกจากนี้ยังได้รับความพึงพอใจในความเหมาะสม  ที่จัดเป็นสื่อการเรียน
 อภิปรายผล
          จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่องการศึกษาคำราชาศัพท์
ราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่คนทั่วไปใช้เมื่อพูดกับหรือพูดกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หรือพระญาติของพระเจ้าแผ่นดิน คำที่ใช้กล่าวถึงสิ่งต่างๆที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์  หรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ต้องเป็นคำราชาศัพท์
ประโยชน์ที่ได้รับ
            ๑.  ได้รับความรู้ในเรื่องคำราชาศัพท์
            ๒.  สามารถนำคำราชาศัพท์ไปใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละโอกาสได้
            ๓.  ผู้ที่ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
            ๔.  ผู้ที่ศึกษาได้รับความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน
            ๕.  เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ
            ๑.  ควรมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนในเรื่องอื่น ๆ อีก
            ๒.  ควรหาคำราชาศัพท์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
            ๓.  ควรปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามอักขระวิธี 

เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทย



ภาคผนวก


แผนผังสาระการเรียนรู้



พยัญชนะวรรคของภาษาบาลี



ข้อแตกต่างของภาษาบาลีและสันสกฤต